บทความนี้เขียนขึ้นเพราะ ครั้งหนึ่งตอนที่ผมกำลังเริ่มสนใจเรื่องนี้ หาข้อมูลเป็น ภาษาไทยไม่ค่อยได้เลย เคยเห็นลงใน RCflying เมื่อหลายปีก่อนแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก จึงศึกษาจากการสอบถามทางโทรศัพท์ และอ่านจากwebsite โดยเฉพาะ RC groups
ต้องขอขอบคุณ คุณ ธเนศ และ อาจารย์เปี๊ยก ที่ให้คำแนะนำทางโทรศัพท์
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ และกำลังเริ่มต้น
บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้ทำจริง ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
FPV - first person view
RPV - remote piloted vehicles
คือ การบินเครื่องบินบังคับ โดย เราติดกล้องไว้บนเครื่องบิน แล้ว ส่งสัญญาณภาพ ลงมา ขึ้นจอ โดยการบินนั้นเราจะไม่ได้ดูที่ตัวเครื่องบิน แต่เราจะดูที่จอมอนิเตอร์ แล้วบังคับเครื่องบิน โดยดูอาการของเครื่องบินทางจอมอนิเตอร์ เป็นการบังคับแบบ Real time จะให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเรานั่งบังคับเองอยู่บนเครื่องบิน หรือพูดง่ายๆคือ เป็นนักบินไม่ได้ ก็บิน แบบ FPV ได้ จะต่างกับ aerial photography หรือ aerial video ซึ่งจะติดกล้องบนเครื่องบินไป บันทึกภาพ การบินจะบิน แบบปกติ
ถ้าใครอยากบินทดสอบก่อนลองจริง ทดลองใน Google Earth ในโหมด google earth flight simulator ถ้าหา เมนูไม่เจอ ให้กด Ctrl+Alt+A. จะใช้ คีบอร์ด บังคับ หรือ วิทยุ ก็ได้ครับ ผมก็ฝึกจาก Google Earth ครับ
คลิปผลงานของผมครับ
" บินเหนือเมฆ "
http://www.youtube.com/watch?v=kxtPSOsreQw
http://www.youtube.com/watch?v=a0khWZxTlus
http://www.youtube.com/watch?v=21zslI4eiy8
" เขื่อนจุฬาภรณ์ "
http://www.youtube.com/watch?v=hcerYcCd3_I
" เมืองเลย "
http://www.youtube.com/watch?v=x68JmSLedmo
" ทดสอบระยะการบิน "
2.6 Km
http://www.youtube.com/watch?v=stSNsHyDZ7M
3.6 Km
http://www.youtube.com/watch?v=w9PZEBNtO7k
5 Km
http://www.youtube.com/watch?v=VgdJ6S7QG-k
6.6 Km
http://www.youtube.com/watch?v=kC2T7BJSqF0
"RQ-2 Pioneer version1 @ 2"
http://www.youtube.com/watch?v=UATyNcGDTKM
http://www.youtube.com/watch?v=eBijD4qpqDk
http://www.youtube.com/watch?v=bxPdDzI9sIA
http://www.youtube.com/watch?v=j4xXdRtjK4I
" Fly In HD With Dx201 "
(บินโดยภาพ ระดับ HD ด้วย กล้อง Dx201)
http://www.youtube.com/watch?v=6Hhsp_kReSk
พระอาทิตย์ยามเช้า
Morning Sun
http://www.youtube.com/watch?v=lPFhOTzTlOM
Upper Cloud @ Lower Fog
http://www.youtube.com/watch?v=g2q0H1teQB0
RPV - remote piloted vehicles
คือ การบินเครื่องบินบังคับ โดย เราติดกล้องไว้บนเครื่องบิน แล้ว ส่งสัญญาณภาพ ลงมา ขึ้นจอ โดยการบินนั้นเราจะไม่ได้ดูที่ตัวเครื่องบิน แต่เราจะดูที่จอมอนิเตอร์ แล้วบังคับเครื่องบิน โดยดูอาการของเครื่องบินทางจอมอนิเตอร์ เป็นการบังคับแบบ Real time จะให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเรานั่งบังคับเองอยู่บนเครื่องบิน หรือพูดง่ายๆคือ เป็นนักบินไม่ได้ ก็บิน แบบ FPV ได้ จะต่างกับ aerial photography หรือ aerial video ซึ่งจะติดกล้องบนเครื่องบินไป บันทึกภาพ การบินจะบิน แบบปกติ
ถ้าใครอยากบินทดสอบก่อนลองจริง ทดลองใน Google Earth ในโหมด google earth flight simulator ถ้าหา เมนูไม่เจอ ให้กด Ctrl+Alt+A. จะใช้ คีบอร์ด บังคับ หรือ วิทยุ ก็ได้ครับ ผมก็ฝึกจาก Google Earth ครับ
คลิปผลงานของผมครับ
" บินเหนือเมฆ "
http://www.youtube.com/watch?v=kxtPSOsreQw
http://www.youtube.com/watch?v=a0khWZxTlus
http://www.youtube.com/watch?v=21zslI4eiy8
" เขื่อนจุฬาภรณ์ "
http://www.youtube.com/watch?v=hcerYcCd3_I
" เมืองเลย "
http://www.youtube.com/watch?v=x68JmSLedmo
" ทดสอบระยะการบิน "
2.6 Km
http://www.youtube.com/watch?v=stSNsHyDZ7M
3.6 Km
http://www.youtube.com/watch?v=w9PZEBNtO7k
5 Km
http://www.youtube.com/watch?v=VgdJ6S7QG-k
6.6 Km
http://www.youtube.com/watch?v=kC2T7BJSqF0
"RQ-2 Pioneer version1 @ 2"
http://www.youtube.com/watch?v=UATyNcGDTKM
http://www.youtube.com/watch?v=eBijD4qpqDk
http://www.youtube.com/watch?v=bxPdDzI9sIA
http://www.youtube.com/watch?v=j4xXdRtjK4I
" Fly In HD With Dx201 "
(บินโดยภาพ ระดับ HD ด้วย กล้อง Dx201)
http://www.youtube.com/watch?v=6Hhsp_kReSk
พระอาทิตย์ยามเช้า
Morning Sun
http://www.youtube.com/watch?v=lPFhOTzTlOM
Upper Cloud @ Lower Fog
http://www.youtube.com/watch?v=g2q0H1teQB0
FPV เบื่องต้น ต้องมีอะไรบ้าง
1.เครื่องบิน
2.วิทยุ
3.กล้อง
4.ชุดรับส่งสัญญาณภาพ และเสียง (VTX & VRX)
5.จอรับภาพ
6.ระบบไฟฟ้าที่ใช้
FPV ขั้นสูง (จะอธิบายละเอียดภายหลังนะครับ)
1.Copilot
2.Osd + Autopilot + Gps
Osd ( on-screen display) คือ ตัวเลข หรือ ตัวหนังสือ ที่แสดงขึ้นจอ เพื่อบอก สภาพการบิน ของเรา เช่น ความเร็ว ความสูง ระยะทาง แบต .......
Autopilot คือ การบินอัตโนมัติ ใช้ในกรณีที่เราบินจนหลุดสัณญาณ วิทยุ เครื่องจะบินกลับสู่จุดปล่อยเอง
Gps ( Global Positioning System ) คือ ตัวที่ใช้บอกพิกัดเราบนโลก ใช้งานร่วมกับ OSD และ Autopilot
3.เครื่องบันทึกสัญญาณภาพที่ส่งลงมา เช่น กล้อง ดิจิตอลที่มี AV-In
4.เครื่องแยกสัญาณ AV (Av splitter) เพื่อแบ่งสัญญาณ ภาพ เป็นสองหรือสามทาง เช่น สัญญาณภาพ เข้า TV และ เครื่องบันทึกภาพ
5. Upgrate วิทยุ ใช้คลื่น ย่าน UHF จะสามารถควบคุมได้ไกล มากกว่า 10 Km
6. Head tracker + pan and tilt system คือตัวจับการเคลื่อนไหวของ ศรีษะ เรา ให้ หมุนกล้อง เช่น เมื่อเราหันหัวไปทางซ้าย กล้องก็จะ หมุนซ้าย เราก้มกล้องก็ก้มตาม เป็นต้น
1.เครื่องบิน
2.วิทยุ
3.กล้อง
4.ชุดรับส่งสัญญาณภาพ และเสียง (VTX & VRX)
5.จอรับภาพ
6.ระบบไฟฟ้าที่ใช้
FPV ขั้นสูง (จะอธิบายละเอียดภายหลังนะครับ)
1.Copilot
2.Osd + Autopilot + Gps
Osd ( on-screen display) คือ ตัวเลข หรือ ตัวหนังสือ ที่แสดงขึ้นจอ เพื่อบอก สภาพการบิน ของเรา เช่น ความเร็ว ความสูง ระยะทาง แบต .......
Autopilot คือ การบินอัตโนมัติ ใช้ในกรณีที่เราบินจนหลุดสัณญาณ วิทยุ เครื่องจะบินกลับสู่จุดปล่อยเอง
Gps ( Global Positioning System ) คือ ตัวที่ใช้บอกพิกัดเราบนโลก ใช้งานร่วมกับ OSD และ Autopilot
3.เครื่องบันทึกสัญญาณภาพที่ส่งลงมา เช่น กล้อง ดิจิตอลที่มี AV-In
4.เครื่องแยกสัญาณ AV (Av splitter) เพื่อแบ่งสัญญาณ ภาพ เป็นสองหรือสามทาง เช่น สัญญาณภาพ เข้า TV และ เครื่องบันทึกภาพ
5. Upgrate วิทยุ ใช้คลื่น ย่าน UHF จะสามารถควบคุมได้ไกล มากกว่า 10 Km
6. Head tracker + pan and tilt system คือตัวจับการเคลื่อนไหวของ ศรีษะ เรา ให้ หมุนกล้อง เช่น เมื่อเราหันหัวไปทางซ้าย กล้องก็จะ หมุนซ้าย เราก้มกล้องก็ก้มตาม เป็นต้น
FPV เบื่องต้น
1. เครื่องบิน
เครื่องบินที่ดี ต้องเป็นเครื่องบินที่ บินได้ทั้งช้าและเร็ว มีความเสถียร ออกไปทางแนวเทรนเนอร์ หรือครื่องร่อน แต่ก็สามารถใช้เครื่องบินอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ปีกบน ปีกล่าง ปีกบิน สเกล 3D น้ำมัน ไฟฟ้า เครื่องบินที่มีใบพัดอยู่ทางด้านหน้า จะทำให้ภาพขณะบิน เห็นการหมุนของใบพัด ซึ่งอาจดูขัดตาไปบ้าง เราอาจเลือก เครื่องบินที่มีใบพัดอยู่ตำแหน่งที่ปีก หรือ ทางท้าย ได้ ที่นิยมนำมาบินแบบ FPV ก็คือ
Easy star เพราะมีการบินที่เสถียรดี และมีใบพัดอยู่ บริเวณหลังปีก
ส่วนตัวผมเองเลือกที่จะทำเอง(ต้องขอบคุณ พี่ เหน่ง Binloei ที่ตัดปีกและให้โฟมอัดมาทำครับ ,เดอะหยอง ที่คอยให้คำแนะนำในการปรับแก้เครื่องบิน จนบินดี ) ตัวลำชื่อ Desert Hawk ขั้นตอนการทำ และแบบ ตาม link เลยครับ
http://www.rcgroups.com/forums/showthread.php?t=650225&highlight=desert+hawk
ผมเอามาปรับแก้เอาเองอีกทีครับ ทำปีกให้มี Air foil ลำตัวใหญ่ขึ้น หางเป็นแบบระนาบ ลำนี้เป็น vertion 2 ครับ ลำแรกตกปีกหักครับ ลำแรกจะเป็น หาง V ก็บินได้ดีครับ
เสปคที่ใช้
- Motrolfly 2810 1200kv
- ใบ Gws 9*6
- speed jeti 40 A
- A123 4 Cell ต้องขอ ชม A123 เป็นการส่วนตัวครับ แรงตลอดไฟล์ บินได้ถึง 1,800-1,900 mAh ต่อไฟล์ ผมเคยทำเครื่องตก กว่าจะหาเครื่องบินเจอ หลาย ชั่วโมง เมื่อเช็คไฟ เหลือแค่ 1 V กว่าๆ ต่อเซล ต้องค่อยๆ ชารต์ทีละเซล ด้วย A ต่ำที่สุด เครื่องชาร์ตฟ้องว่าไม่มีแบตหลายครั้ง นึกกว่าเสียแล้วแน่ๆ แต่ก็กลับคืนชีพครับ และยังแรงเหมือนเดิมทุกประการณ์ เหตุการแบบนี้เคยเกิดกับแบต Lipo พอเจอเครื่องบินเปิดดู แบต บวมฉึ่ง กู่ไม่กลับครับ
น้ำหนักพร้อมบิน 1.33 กิโลกรัม บินไม่เคยเกินครึ่งสติกครับ
เวลาบินประมาณ 10 นาทีกว่าๆ ครับ
1. เครื่องบิน
เครื่องบินที่ดี ต้องเป็นเครื่องบินที่ บินได้ทั้งช้าและเร็ว มีความเสถียร ออกไปทางแนวเทรนเนอร์ หรือครื่องร่อน แต่ก็สามารถใช้เครื่องบินอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ปีกบน ปีกล่าง ปีกบิน สเกล 3D น้ำมัน ไฟฟ้า เครื่องบินที่มีใบพัดอยู่ทางด้านหน้า จะทำให้ภาพขณะบิน เห็นการหมุนของใบพัด ซึ่งอาจดูขัดตาไปบ้าง เราอาจเลือก เครื่องบินที่มีใบพัดอยู่ตำแหน่งที่ปีก หรือ ทางท้าย ได้ ที่นิยมนำมาบินแบบ FPV ก็คือ
Easy star เพราะมีการบินที่เสถียรดี และมีใบพัดอยู่ บริเวณหลังปีก
ส่วนตัวผมเองเลือกที่จะทำเอง(ต้องขอบคุณ พี่ เหน่ง Binloei ที่ตัดปีกและให้โฟมอัดมาทำครับ ,เดอะหยอง ที่คอยให้คำแนะนำในการปรับแก้เครื่องบิน จนบินดี ) ตัวลำชื่อ Desert Hawk ขั้นตอนการทำ และแบบ ตาม link เลยครับ
http://www.rcgroups.com/forums/showthread.php?t=650225&highlight=desert+hawk
ผมเอามาปรับแก้เอาเองอีกทีครับ ทำปีกให้มี Air foil ลำตัวใหญ่ขึ้น หางเป็นแบบระนาบ ลำนี้เป็น vertion 2 ครับ ลำแรกตกปีกหักครับ ลำแรกจะเป็น หาง V ก็บินได้ดีครับ
เสปคที่ใช้
- Motrolfly 2810 1200kv
- ใบ Gws 9*6
- speed jeti 40 A
- A123 4 Cell ต้องขอ ชม A123 เป็นการส่วนตัวครับ แรงตลอดไฟล์ บินได้ถึง 1,800-1,900 mAh ต่อไฟล์ ผมเคยทำเครื่องตก กว่าจะหาเครื่องบินเจอ หลาย ชั่วโมง เมื่อเช็คไฟ เหลือแค่ 1 V กว่าๆ ต่อเซล ต้องค่อยๆ ชารต์ทีละเซล ด้วย A ต่ำที่สุด เครื่องชาร์ตฟ้องว่าไม่มีแบตหลายครั้ง นึกกว่าเสียแล้วแน่ๆ แต่ก็กลับคืนชีพครับ และยังแรงเหมือนเดิมทุกประการณ์ เหตุการแบบนี้เคยเกิดกับแบต Lipo พอเจอเครื่องบินเปิดดู แบต บวมฉึ่ง กู่ไม่กลับครับ
น้ำหนักพร้อมบิน 1.33 กิโลกรัม บินไม่เคยเกินครึ่งสติกครับ
เวลาบินประมาณ 10 นาทีกว่าๆ ครับ
2.วิทยุ
ก็ตามที่มีครับ จะ Futaba ,Jr หรือ อะไรก็ได้ เพียงแต่ว่า อย่าให้ซ้ำกับชุด รับส่งสัญญาณภาพ เช่น ถ้า เราใช้ วิทยุ แบบ 2.4 GHz แล้ว ไม่แนะนำให้ใช้ ชุด รับส่งสัญญาณภาพ เป็น 2.4 GHz ด้วย เพราะ สัญญาณจะกวนกัน ถ้าบินใกล้ๆ ไม่เป็นไร แต่ถ้าจะเบินไกลๆ จะมีปัญหาครับ (อันนี้ผมเองไม่เคยทดสอบครับ แต่ใน RCgroups เขาว่าอย่างนั้นครับ)
ดังนั้น ถ้าเราใช้
- วิทยุ 2.4 GHz ให้ใช้ ชุด รับส่งสัญญาณภาพ 1.3 GHz หรือ 900 MHz
- วิทยุ 72 หรือ 35 MHz จะสามารถใช้ ชุด รับส่งสัญญาณภาพ 2.4 GHz , 1.3 GHz หรือ 900 MHz ได้
ตัวผมเอง ใช้ Futaba 9C + receiver 146ip pcm ตัววิทยุ ใช้แบต lipo 3 เซล
ตัว Receiver ผมเปลี่ยนสาย ใหม่ ใช้สายไฟใน สายโทรศัพท์ มี 4 เส้น
ใช้ยาวประมาณ 2 เมตร หรือเอาสุดความยาวของสายโทรศัพท์เลย เมื่อติดตั้งบนเครื่องบิน เอาสายออก มานอกตัวลำเกือบทั้งหมด และ ตั้งเสาโดยใช้ แท่งคาร์บอน ประมาณ 1 เมตร เคล็ดลับคือ อย่า เอาสายไว้ในแท่งคาร์บอน ให้ติดไว้ด้านนอกเพื่อรับคลื่นได้ดีที่สุด (มีคนหนึ่งใน RCgroups เขาทำแบบนี้ แต่เขาใช้ Receiver futaba 149 dps เขาไปไกลถึง 8 กิโลเมตร)
โคนเสาผมทำแบบเป็นรูให้ถอดเสียบได้ครับ
หลังจากเสียบแล้ว
ล่าสุดที่ทดสอบ ผมบินไปทางด้านหน้าได้ไกล 6.5 km โดยยังสามารถบังคับเครื่องบินได้ดี
ถ้าบินไปทางไหนต้อง หันจานรับสัญญาณภาพตามไปด้วยนะครับ ภาพจะได้ไม่หาย แต่ถ้าไม่บินไปทางด้านหลังจริงๆ ตั้งจานไว้เฉยๆได้ครับ
3.กล้อง
ก็คือกล้อง วงจรปิดเรานี่เองครับ เลือกเอา ความละเอียด 420 TV line หรือมากกว่า ภาพจะได้ชัดๆ คมๆ ถ้า ได้ 550 Tv line ภาพจะสวยมาก ดูรายละเอียดดีๆครับ ผมเปลี่ยนกล้องมา 3 ตัวแล้วครับ
ตัวแรก ตกน้ำ ตัวที่ 2 โหม่งพื้นแตก ตัวปัจจุบัน เสปคประมาณนี้ครับ
Camera features:
•540 TVL horizontal resolution
•1/3" DPS (Digital Pixel System) wide dynamic range sensor.
•Programmable OSD menu
•32x32mm, 36 g with lens
•12V±10% DC, 160mA
ถ้ากล้องไม่มีไมค์ในตัว จะมีสาย 3 เส้น คือ
แดง - ไฟ 12 V. (กล้องบางตัวใช้ไฟ 5 V. )
ดำ - กราว
เหลือง(หรือขาว) – สัญญาณภาพ
ถ้ากล้องมีไมค์ จะมีเพิ่มอีก 1 เส้น
ขาว – สัญญาณเสียง
เพื่อให้ภาพคมชัดไม่มีคลื่นรบกวน ให้ใช้ Ferrite ring (แร่เหล็ก วงแหวน) หาได้จากอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคเก่าๆ เอาสายที่ออกจากกล้องพันรอบ Ferrite ring ประมาณ 5 รอบครับ ก่อนไปเข้า ตัวส่งสัญญาณภาพ
4.ชุดรับส่งสัญญาณภาพ ( VTX & VRX )
ไม่แนะนำให้ใช้แบบสำเหร็จ ที่เป็นกล้องไร้สาย พร้อมตัวรับ เพราะ ระยะส่งไม่ไกล ภาพไม่ค่อยชัดครับ
มีทั้งแบบ 900 MHz 1.3 GHz และ 2.4 GHz
เอาเป็นว่าอย่าเลือกระบบให้ซ้ำกับวิทยุเป็นใช้ได้ครับ
ผมเองเลือก 2.4GHz ดังนั้นผมจะขออธิบายเฉพาะระบบนี้นะครับ
ในตอนแรก ผมได้ทดสอบ ชุดรับส่งที่พอจะหาได้ในบ้านเรา
ที่พอจะซื้อ ได้ ก็คือ room to room 2w (อาจารย์ เปี๊ยก จัดซื้อให้)
http://tumcctv.tarad.com/product-th-364123-1654951-room+to+room+2w.html
โดยตัวส่งสัญญาณภาพ ต้องแกะกล่องเหล็กออกก่อน ก็ถือว่าใช้ได้ ตัวลำเครื่องบินต้องมีเนื้อที่พอสมควร น่าเสียดาย บินได้ ครั้งเดียว ผมทำเครื่องบินตกน้ำไปก่อนพังหมดทั้ง กล้อง ทั้งตัวส่ง
ซื้อใหม่ผมสั่งของจากเวบ http://www.rangevideo.com/ (คุณ ธเนศ ช่วยจัดซื้อให้) มีทุกอย่างเกี่ยวกับ FPV สั่งอาทิตย์เดียวได้ครับ ผมเลยซื้อมาเฉพาะ ตัวส่ง เพราะตัวรับ คิดว่าจะใช้อันเก่า ตัวส่งที่จะนำไปติดตั้งบนเครื่องบิน จะมีหลายกำลังส่ง ตั้งแต่ 10 mW จนถึง 1000 mW ผมเลือกเอา แบบ 1000 mW เลยจะได้ระยะไกลๆ รุ่นที่ผมใช้ ใช้ แบต lipo 3 เซล ได้เลย
ดังนั้น ทั้งกล้อง และ ตัวส่งสัญญาณ ใช้ แบต lipo 3 เซล ก้อนเดียวกัน สัก 400 – 800 Mah จะบินได้ ประมาณ 15 – 30 นาที ไม่แนะนำให้ใช้แบตเดียวกับเครื่องบิน เพราะ ตอน ท้ายๆ ไฟล์ แบตจะอ่อน จน ทั้งกล้อง และตัวส่งสัญญาณ ไม่ทำงานครับ แยกกันเลยดีที่สุดครับ
ตัวส่งสัญญาณภาพและเสียง
ในการต่อกับกล้องนั้น เราอาจจะใช้สาย AV ที่มาด้วยก็ได้ แต่ผมมองว่ามันใหญ่และเทอะทะ จึงได้ตัดแล้วเชื่อมเอาเลย โดยผมไม่เอาสัญญาณเสียง
เช่นเดียวกับ กล้อง พันสายที่ออกจากตัวส่ง รอบ Ferrite ring 5 รอบด้วยครับป้องกันคลื่นรบกวน
และยังสามารถนำ Ferrite ring ไปใช้กับ สาย Servo ทุกตัว สายจาก speed เข้า receiver เพื่อป้องกันคลื่นรบกวนที่จะเกิดจาก servo และ speed ได้ครับ
การต่อสาย กล้องเข้ากับ ตัวส่งสัญญาณ
สีเหลือง - สีเหลือง (สัญญาณภาพ)
สีแดง – สีแดง ( ไฟ ขั้ว + 12 V. จาก lipo 3 เซล )
สีดำ - สีดำ (กราว และ ไฟ ขั้ว - จาก lipo 3 เซล )
ไม่แนะนำให้ใช้แบบสำเหร็จ ที่เป็นกล้องไร้สาย พร้อมตัวรับ เพราะ ระยะส่งไม่ไกล ภาพไม่ค่อยชัดครับ
มีทั้งแบบ 900 MHz 1.3 GHz และ 2.4 GHz
เอาเป็นว่าอย่าเลือกระบบให้ซ้ำกับวิทยุเป็นใช้ได้ครับ
ผมเองเลือก 2.4GHz ดังนั้นผมจะขออธิบายเฉพาะระบบนี้นะครับ
ในตอนแรก ผมได้ทดสอบ ชุดรับส่งที่พอจะหาได้ในบ้านเรา
ที่พอจะซื้อ ได้ ก็คือ room to room 2w (อาจารย์ เปี๊ยก จัดซื้อให้)
http://tumcctv.tarad.com/product-th-364123-1654951-room+to+room+2w.html
โดยตัวส่งสัญญาณภาพ ต้องแกะกล่องเหล็กออกก่อน ก็ถือว่าใช้ได้ ตัวลำเครื่องบินต้องมีเนื้อที่พอสมควร น่าเสียดาย บินได้ ครั้งเดียว ผมทำเครื่องบินตกน้ำไปก่อนพังหมดทั้ง กล้อง ทั้งตัวส่ง
ซื้อใหม่ผมสั่งของจากเวบ http://www.rangevideo.com/ (คุณ ธเนศ ช่วยจัดซื้อให้) มีทุกอย่างเกี่ยวกับ FPV สั่งอาทิตย์เดียวได้ครับ ผมเลยซื้อมาเฉพาะ ตัวส่ง เพราะตัวรับ คิดว่าจะใช้อันเก่า ตัวส่งที่จะนำไปติดตั้งบนเครื่องบิน จะมีหลายกำลังส่ง ตั้งแต่ 10 mW จนถึง 1000 mW ผมเลือกเอา แบบ 1000 mW เลยจะได้ระยะไกลๆ รุ่นที่ผมใช้ ใช้ แบต lipo 3 เซล ได้เลย
ดังนั้น ทั้งกล้อง และ ตัวส่งสัญญาณ ใช้ แบต lipo 3 เซล ก้อนเดียวกัน สัก 400 – 800 Mah จะบินได้ ประมาณ 15 – 30 นาที ไม่แนะนำให้ใช้แบตเดียวกับเครื่องบิน เพราะ ตอน ท้ายๆ ไฟล์ แบตจะอ่อน จน ทั้งกล้อง และตัวส่งสัญญาณ ไม่ทำงานครับ แยกกันเลยดีที่สุดครับ
ตัวส่งสัญญาณภาพและเสียง
ในการต่อกับกล้องนั้น เราอาจจะใช้สาย AV ที่มาด้วยก็ได้ แต่ผมมองว่ามันใหญ่และเทอะทะ จึงได้ตัดแล้วเชื่อมเอาเลย โดยผมไม่เอาสัญญาณเสียง
เช่นเดียวกับ กล้อง พันสายที่ออกจากตัวส่ง รอบ Ferrite ring 5 รอบด้วยครับป้องกันคลื่นรบกวน
และยังสามารถนำ Ferrite ring ไปใช้กับ สาย Servo ทุกตัว สายจาก speed เข้า receiver เพื่อป้องกันคลื่นรบกวนที่จะเกิดจาก servo และ speed ได้ครับ
การต่อสาย กล้องเข้ากับ ตัวส่งสัญญาณ
สีเหลือง - สีเหลือง (สัญญาณภาพ)
สีแดง – สีแดง ( ไฟ ขั้ว + 12 V. จาก lipo 3 เซล )
สีดำ - สีดำ (กราว และ ไฟ ขั้ว - จาก lipo 3 เซล )
มาดูตัวรับกันบ้าง 2.4GHz Standard Receiver
ตัวเก่าใช้กันได้ครับ แต่ไม่ดี ภาพ ไม่ชัด หาสาเหตุอยู่ตั้งนาน ไปถาม อยู่ในเวบ RCgroups
http://www.rcgroups.com/forums/showthread.php?t=1067118
แก้ไปตั้งหลายวิธี มาพบว่าเป็นที่เครื่องรับ จึงได้สั่งใหม่ http://www.rangevideo.com/ คราวนี้ลองสั่งเองครับ อาทิตย์เดียวของถึงบ้านเลย ไม่โดนภาษีครับ
ในชุด จะมีเสามาด้วย จริงๆแล้ว มันก็ใช้คลื่น ย่าน 2.4 GHz แบบที่ใช้เป็น wireless lan บ้านเรา แต่ เสาดันทำมาตรงกันข้ามกัน ดูจากในรูป จะเห็นว่า เสาตรงกลางจะมีเดือย แต่เสา wireless บ้านเรา ตรงกลางมันเป็นรู ครับ เรามาลองเพิ่มกำลังส่งกันเพื่อบินได้ไกลๆ
- เพิ่มกำลังส่ง ตัวส่งสัญญาณ (VTX)
ตัวส่งเราคงไม่ต้องทำอะไรมาก ก็ติดตั้งบนเครื่องบินได้เลย แต่ถ้าอยากเพิ่งกำลังส่ง ก็ลองหา เสา wireless บ้านเรา ที่ใหญ่กว่า ได้ แต่ต้องหาเดือย มาเสียบตรงกลางด้วย เพราะ ทั่งเสา และ ก็ตัว ส่ง เป็นรู ตรงกลางทั้งคู่ เสาที่ให้มา น่าจะกำลังส่ง 3 dBi ถ้าเสาใหญ่กว่าหน่อย ก็น่าจะได้ สัก 5 dBi ของผมถอดเอา เสา wireless ที่บ้านมาเปลี่ยนครับ ใหญ่กว่าหนักกว่านิดหน่อย
- เพิ่ม กำลังรับ ให้ตัวรับสัญญาณ (VRX)
ทำคล้ายๆกับตัวส่ง แต่ ถ้าจะให้ได้ไกลๆ ก็เลือกเอา จานรับสัญญาณ แบบ Patch
ผมเลือก 14dBi Patch receiver antenna หาเอาเวบบ้านเรานี่ละครับ
(อันเดียวกับที่ใช้ wireless lan เลย) แต่สาย ก็ แปลงเอาให้มันตรงกันครับ
http://www.wifimove.com/index.php เจ้าของเวบใจดีครับ ทำสายมาให้ด้วย
หน้าตาคล้าย แบบนี้
Ground Station ของผมครับ
5.จอรับภาพ
หลากหลายครับแล้วแต่สะดวก
- จอทีวี ธรรมดา 14 – 29 นิ้ว ราคาไม่แพงเลยครับ มือสองยิ่งถูกมาก ภาพที่ออกมาก็ชัดดีครับ
- Lcd Tv ก็จะสะดวกขึ้น เพราะเบา พกพาง่าย มีตั้งแต่ 19 นิ้วเป็นต้นไป แต่ !!!!!!! ต้องระวังนะครับ เพราะ LCD TV ทุกรุ่น จะมี Blue screen of death ก็คือ เมื่อไม่มีสัญญาณ หรือสัญญาณต่ำ จะเกิดจอฟ้า หรือจอดำในบางรุ่น มันจะไม่ยอม ปล่อยให้เกิด ภาพ ซ่าๆเม็ดๆ ซึ่ง เหตุการณ์นี้ จะเกิดขึ้น กรณีที่เราบินไกลๆ สัญญาณต่ำๆ มันจะ เป็นจอฟ้าเลย ภาพหายไปจากจอ แค่ไม่กี่วิ เครื่องก็ตก หรือ หลงได้ครับ อันตรายมาก หาเมนูปิดระบบนี้ก็ไม่เจอ โทรไปถามที่ศูนย์ เขาบอกว่า รุ่นหลังๆ จะทำตายตัวออกมาเลยไม่สามารถปิดระบบนี้ได้ แต่ก็มีวิธีแก้ครับ คือ ใช้ตัวแปลง AV to RF คือแปลงสัญญาณแบบ AV เป็น สัญญาณ ทีวีครับ วิธีนี้ จะไม่ทำให้เกิดจอฟ้า หรือดำ แต่ข้อเสียก็คือ คุณภาพของภาพที่แสดงออกจอ จะตก ลงเล็กน้อย
http://www.welec07.com/index.php?lay=sh ... &cid=10734
- DVD พกพา มีหลายราคามากๆ ตั้งแต่จอ 7 นิ้วไปจนถึง 12 นิ้ว ถือว่าดีเลยครับ มีแบตในตัวพกพาสะดวก ต้องเลือกรุ่นหน่อยนะครับ ต้องมี AV-in ด้วย ถึงจะใช้ได้ ระวัง Blue screen of death ในบางรุ่น ด้วยครับ บางรุ่นจะมีเมนูให้ปิด จอฟ้าได้
- Video Goggles คือแว่นตาที่มีจอภาพในตัว
แบบนี้ยิ่งสะดวกมากๆครับ เพราะ จะคล้ายๆเรานั่งอยู่บนเครื่องบินจริงๆเลย ส่วนตัวผมเองตอนแรกไม่ได้ศึกษาดีๆ ซื้อของบ้านเรา ชื่อ Itheater ราคาพอกับของนอก แต่มันใช้ไม่ได้ครับ มันจะเกิด Blue screen of death เช่นเดียวกับ LCD TV แต่ก็พอมีทางแก้คือ ต้องเอาสัญญาณ ภาพเข้า
SanDisk V-Mate (ตัวบันทึกวิดีโอจากแหล่งภายนอกลง Memory Card ) แล้วจึงเอาสัญญาณภาพมาเข้าแว่นอีกทีครับ(อ่านมาจาก RCgroups) น่าเสียดายที่ขายไปก่อนเลยไม่ได้ทดสอบ
แว่นแบบนี้ เวลาดูจะเหมือนเรานั่งอยู่หน้าจอทีวี 50 นิ้ว เลยทีเดียว ภาพสวย ชัด ตอนทดสอบก่อนขายช่วงที่สัญญาณภาพไม่หาย จะให้ความรู้สึกเหมือนได้บินจริงๆเลยครับ
- Easy cap + Notebook คือใช้ตัวแปลงสัญญาณ AV เข้า notebook เลย แบบนี้จะได้สองต่อเลยครับ บินไป บันทึกภาพไปด้วย แต่มีข้อเสียสองข้อ ครับจากที่เคยใช้มาแล้วคือ
1. คุณภาพของภาพ ทั้งตอนเราดูเวลาบิน และ บันทึก ไม่ดีเท่าที่ควร ก็คือ มันไม่ค่อยชัดครับ แต่ก็ถือว่าใช้ได้ ผมใช้ตอนเริ่มต้นใหม่ๆ เพราะยังหาจอไม่ได้
2. ข้อนี้ข้อใหญ่ คือ มันไม่สู้แสง คือ เราบินกลางแจ้งมันจะไม่ค่อยเห็นภาพที่จอ notebook ครับ เพราะแสงภายนอกเยอะ และยิ่ง notebook เดี๋ยวนี้มีแต่จอกระจก ยิ่งสะท้อนมองไม่ค่อยถนัด แก้โดยต้องทำกล่องครอบ notebook ไว้แล้วเอาหัวมุดเข้าไปครับ
หลากหลายครับแล้วแต่สะดวก
- จอทีวี ธรรมดา 14 – 29 นิ้ว ราคาไม่แพงเลยครับ มือสองยิ่งถูกมาก ภาพที่ออกมาก็ชัดดีครับ
- Lcd Tv ก็จะสะดวกขึ้น เพราะเบา พกพาง่าย มีตั้งแต่ 19 นิ้วเป็นต้นไป แต่ !!!!!!! ต้องระวังนะครับ เพราะ LCD TV ทุกรุ่น จะมี Blue screen of death ก็คือ เมื่อไม่มีสัญญาณ หรือสัญญาณต่ำ จะเกิดจอฟ้า หรือจอดำในบางรุ่น มันจะไม่ยอม ปล่อยให้เกิด ภาพ ซ่าๆเม็ดๆ ซึ่ง เหตุการณ์นี้ จะเกิดขึ้น กรณีที่เราบินไกลๆ สัญญาณต่ำๆ มันจะ เป็นจอฟ้าเลย ภาพหายไปจากจอ แค่ไม่กี่วิ เครื่องก็ตก หรือ หลงได้ครับ อันตรายมาก หาเมนูปิดระบบนี้ก็ไม่เจอ โทรไปถามที่ศูนย์ เขาบอกว่า รุ่นหลังๆ จะทำตายตัวออกมาเลยไม่สามารถปิดระบบนี้ได้ แต่ก็มีวิธีแก้ครับ คือ ใช้ตัวแปลง AV to RF คือแปลงสัญญาณแบบ AV เป็น สัญญาณ ทีวีครับ วิธีนี้ จะไม่ทำให้เกิดจอฟ้า หรือดำ แต่ข้อเสียก็คือ คุณภาพของภาพที่แสดงออกจอ จะตก ลงเล็กน้อย
http://www.welec07.com/index.php?lay=sh ... &cid=10734
- DVD พกพา มีหลายราคามากๆ ตั้งแต่จอ 7 นิ้วไปจนถึง 12 นิ้ว ถือว่าดีเลยครับ มีแบตในตัวพกพาสะดวก ต้องเลือกรุ่นหน่อยนะครับ ต้องมี AV-in ด้วย ถึงจะใช้ได้ ระวัง Blue screen of death ในบางรุ่น ด้วยครับ บางรุ่นจะมีเมนูให้ปิด จอฟ้าได้
- Video Goggles คือแว่นตาที่มีจอภาพในตัว
แบบนี้ยิ่งสะดวกมากๆครับ เพราะ จะคล้ายๆเรานั่งอยู่บนเครื่องบินจริงๆเลย ส่วนตัวผมเองตอนแรกไม่ได้ศึกษาดีๆ ซื้อของบ้านเรา ชื่อ Itheater ราคาพอกับของนอก แต่มันใช้ไม่ได้ครับ มันจะเกิด Blue screen of death เช่นเดียวกับ LCD TV แต่ก็พอมีทางแก้คือ ต้องเอาสัญญาณ ภาพเข้า
SanDisk V-Mate (ตัวบันทึกวิดีโอจากแหล่งภายนอกลง Memory Card ) แล้วจึงเอาสัญญาณภาพมาเข้าแว่นอีกทีครับ(อ่านมาจาก RCgroups) น่าเสียดายที่ขายไปก่อนเลยไม่ได้ทดสอบ
แว่นแบบนี้ เวลาดูจะเหมือนเรานั่งอยู่หน้าจอทีวี 50 นิ้ว เลยทีเดียว ภาพสวย ชัด ตอนทดสอบก่อนขายช่วงที่สัญญาณภาพไม่หาย จะให้ความรู้สึกเหมือนได้บินจริงๆเลยครับ
- Easy cap + Notebook คือใช้ตัวแปลงสัญญาณ AV เข้า notebook เลย แบบนี้จะได้สองต่อเลยครับ บินไป บันทึกภาพไปด้วย แต่มีข้อเสียสองข้อ ครับจากที่เคยใช้มาแล้วคือ
1. คุณภาพของภาพ ทั้งตอนเราดูเวลาบิน และ บันทึก ไม่ดีเท่าที่ควร ก็คือ มันไม่ค่อยชัดครับ แต่ก็ถือว่าใช้ได้ ผมใช้ตอนเริ่มต้นใหม่ๆ เพราะยังหาจอไม่ได้
2. ข้อนี้ข้อใหญ่ คือ มันไม่สู้แสง คือ เราบินกลางแจ้งมันจะไม่ค่อยเห็นภาพที่จอ notebook ครับ เพราะแสงภายนอกเยอะ และยิ่ง notebook เดี๋ยวนี้มีแต่จอกระจก ยิ่งสะท้อนมองไม่ค่อยถนัด แก้โดยต้องทำกล่องครอบ notebook ไว้แล้วเอาหัวมุดเข้าไปครับ
6.ระบบไฟฟ้า
ในที่นี้หมายถึงระบบไฟ 220 V. ที่จะใช้กับอุปกรณ์ของเรา เช่น TV ,adapter ,……
ถ้าบินที่สนามประจำ ก็พอจะหาปั๊กเสียบได้ครับ แต่ที่ที่ผมไปบินมักจะไม่มีไฟฟ้า มีแต่ลานโล่งๆครับ ทุกครั้งเราจะไปกับรถของเราเสมอ แหล่งจ่ายไฟ ก็คงไม่พ้นแบตรถยนต์
โดยเราใช้ carinverter ซึ่งที่ขายทั่วๆไปมีหลายราคา อยู่ที่ Watts ยิ่งสูงไว้จะดีครับ มันจะได้ไม่ตัดhttp://www.pantipmarket.com/view.php?id=A8313353
พอดีผมมีเครื่องสำรองไฟเก่าๆอยู่ จึงเอามาดัดแปลงครับ โดย เอาแบตด้านในออก แล้ว ต่อสายที่จะเข้าแบตออกมาภายนอก แล้วต่อ แจ๊ก เข้ากับที่จุดบุหรี่ นำไปวางไว้ใต้คนขับ ต้องเปลี่ยน ฟิวส์ที่จุดบุหรี่ ด้วยนะครับ อยู่ใต้พวงมาลัย เพราะที่ผมลองใช้ดู ผมต่อ Tv 1 เครื่อง adapter 12 v. สองตัว , AV spitter, AV to RF, ฟิวส์ขาดครับ เปลี่ยนเป็น 20 A เลย ตอนนี้ ยังใช้ได้ดีครับ
จะเห็นว่าแจ๊กที่เสียบหัวแดงๆแบบนี้ไม่ค่อยสวย ราคา 25 บาทเองครับ ผมเคยใช้แจ๊กหน้าตาดีกว่านี้ราคาแพงๆ มีฟิวส์ในตัว ปรากฎว่าใช้ไม่ได้ครับ ฟิวส์ขาดบ้าง ไฟตัดบ้าง พอมาใช้หัวแดง จบเลยครับ
ตำแหน่งที่วางแหล่งจ่ายไฟครับ
ในที่นี้หมายถึงระบบไฟ 220 V. ที่จะใช้กับอุปกรณ์ของเรา เช่น TV ,adapter ,……
ถ้าบินที่สนามประจำ ก็พอจะหาปั๊กเสียบได้ครับ แต่ที่ที่ผมไปบินมักจะไม่มีไฟฟ้า มีแต่ลานโล่งๆครับ ทุกครั้งเราจะไปกับรถของเราเสมอ แหล่งจ่ายไฟ ก็คงไม่พ้นแบตรถยนต์
โดยเราใช้ carinverter ซึ่งที่ขายทั่วๆไปมีหลายราคา อยู่ที่ Watts ยิ่งสูงไว้จะดีครับ มันจะได้ไม่ตัดhttp://www.pantipmarket.com/view.php?id=A8313353
พอดีผมมีเครื่องสำรองไฟเก่าๆอยู่ จึงเอามาดัดแปลงครับ โดย เอาแบตด้านในออก แล้ว ต่อสายที่จะเข้าแบตออกมาภายนอก แล้วต่อ แจ๊ก เข้ากับที่จุดบุหรี่ นำไปวางไว้ใต้คนขับ ต้องเปลี่ยน ฟิวส์ที่จุดบุหรี่ ด้วยนะครับ อยู่ใต้พวงมาลัย เพราะที่ผมลองใช้ดู ผมต่อ Tv 1 เครื่อง adapter 12 v. สองตัว , AV spitter, AV to RF, ฟิวส์ขาดครับ เปลี่ยนเป็น 20 A เลย ตอนนี้ ยังใช้ได้ดีครับ
จะเห็นว่าแจ๊กที่เสียบหัวแดงๆแบบนี้ไม่ค่อยสวย ราคา 25 บาทเองครับ ผมเคยใช้แจ๊กหน้าตาดีกว่านี้ราคาแพงๆ มีฟิวส์ในตัว ปรากฎว่าใช้ไม่ได้ครับ ฟิวส์ขาดบ้าง ไฟตัดบ้าง พอมาใช้หัวแดง จบเลยครับ
ตำแหน่งที่วางแหล่งจ่ายไฟครับ
เทคนิคการวางอุปกรณ์ต่างๆบนตัวลำเครื่องบิน
1. วางตัวส่งสัญญาณภาพ (VTX) ให้ห่างจาก Receiver และสายอากาศ
2. วางกล้องให้ห่างจาก Receiver และสายอากาศ
3. วาง speed ให้ห่างจาก Reciver และสายอากาศ
4. กล้องกับ ตัวส่งสัญญาณภาพ (VTX) วางใกล้กันได้
5. speed อยู่ใกล้กล้องได้
งบโดยประมาณ
1.เครื่องบินพร้อมบิน - 5,000 บาท
2.วิทยุ - 5,000 บาท
3.กล้อง – 2,000 บาท
4.ชุดรับส่งสัญญาณภาพ และเสียง (VTX & VRX) ของไทย(จีน room to room) 2,000 บาท ของนอก 4,000 – 6,000 บาท
5.จอรับภาพ 4,000 – 12,000 บาท
6.ระบบไฟฟ้าที่ใช้ 1,000 บาท
ถ้าเรามีเครื่องบินและวิทยุอยู่แล้ว งบโดยประมาณ 4,000 – 10,000 บาท อันนี้แล้วแต่เลือกอุปกรณ์ครับ
1. วางตัวส่งสัญญาณภาพ (VTX) ให้ห่างจาก Receiver และสายอากาศ
2. วางกล้องให้ห่างจาก Receiver และสายอากาศ
3. วาง speed ให้ห่างจาก Reciver และสายอากาศ
4. กล้องกับ ตัวส่งสัญญาณภาพ (VTX) วางใกล้กันได้
5. speed อยู่ใกล้กล้องได้
งบโดยประมาณ
1.เครื่องบินพร้อมบิน - 5,000 บาท
2.วิทยุ - 5,000 บาท
3.กล้อง – 2,000 บาท
4.ชุดรับส่งสัญญาณภาพ และเสียง (VTX & VRX) ของไทย(จีน room to room) 2,000 บาท ของนอก 4,000 – 6,000 บาท
5.จอรับภาพ 4,000 – 12,000 บาท
6.ระบบไฟฟ้าที่ใช้ 1,000 บาท
ถ้าเรามีเครื่องบินและวิทยุอยู่แล้ว งบโดยประมาณ 4,000 – 10,000 บาท อันนี้แล้วแต่เลือกอุปกรณ์ครับ
Q:OSD คืออะไร
A:OSD ( On Screen Display ) คือสัญญาลักษณ์หรือตัวหนังสือที่แสดงบนจอภาพ ในการบิน FPV ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะจะเป็นตัวช่วยบอกสถานะต่างๆของการบินไม่ว่าจะเป็น ความสูง ความเร็ว พิกัด ตำแหน่งจุดขึ้นบิน สถานะแบต ทำให้นักบิน FPV บินได้ปลอดภัยขึ้น
OSD บางรุ่น จะมีฟังชั่นที่มีระบบบินอัตโนมัต ในกรณี ฉุกเฉินมาด้วย ( RTH )
Q: RTH มันคืออะไรเห็นพูดถึงกันบ่อยๆ
A: RTH (Return To Home) หรืออีกชื่อ RTL (Return To Lunch)
แปลตามตัวก็คือ การกลับบ้าน ในที่นี้สำหรับนักบิน FPV เป็นฟังชั่นหนึ่งที่มีไว้ช่วยให้เครื่องบินกลับมายังบ้าน หรือจุดที่เราขึ้นบิน
จริงๆแล้วชื่อเต็มๆน่าจะเป็น ARTH (Autopilot Return To Home) เพราะมันเป็นการบินแบบ ออโต้
หรือเครื่องบินบินเองโดยที่เราไม่ได้ควบคุม
Q: แล้วเจ้า RTH มันทำงานอย่างไร
A: หลักการทำงานก็คือ ทุกครั้งก่อนขึ้นบิน เครื่องบินจะต้องรอให้ OSD ระบุพิกัด Home ให้ได้ก่อน
ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ เช่น ถ้าท้องฟ้าโปร่ง จะใช้เวลาไม่เกิน 1 นาทีในการล๊อคพิกัด
เมื่อเราบินไปแล้ว ทุกครั้งที่เรียกใช้งาน RTH เครื่องบินของเราก็จะบินกลับมายังตำแหน่ง Home ตามที่ล๊อคไว้ก่อนขึ้นบิน
Q: แล้วเราจะใช้ RTH ตอนไหน
A: การใช้ RTH มีอยู่ 2 กรณีคือ
1.ผู้บินสั่งใช้งาน RTH เอง เพื่อบินกลับบ้าน ซึ่งในขณะที่เครื่องบินบินโหมด RTH นี้ ผู้บินยังสามารถบังคับเองไปด้วยได้เช่น DragonOSD แต่ถ้าเป็น Eagle Tree Pro, RVOSD จะเป็นการปิดวิทยุเพื่อสั่งงาน หรือ สั่งผ่านสวิทซึ่ง เมื่อสั่งงานแล้ว จะไม่สามารถควบคุมเครื่องได้
2. กรณีที่บินจนหลุดการควบคุม เครื่องบินจะเข้าโหมด RTH เองอัตโนมัติ เพื่อนำเครื่องบินกลับมายังบ้าน หรือกลับมาในระยะที่ ผู้บินสามารถควบคุมเครื่องได้อีกครั้ง
กรณีนี้ เมื่อเครื่องบินหลุดสัญญาณ การทำงานของรีซีพในช่องต่างๆ ต้องตั้งให้อยู่ในโหมด f/s (Fail save)ทั้งหมด
โดยให้ตั้งให้อยู่ที่ center หรือศูนย์กลางทุกช่อง ยกเว้นช่อง 3 ให้เร่งเครื่องไว้เล็กน้อยพอพยุงเครื่องกลับ ดังนั้น รีซีพจึงต้องเป็น PCM
Q: มันเลี้ยวกลับมาได้อย่างไร
A: การเลี้ยวกลับ มี 2 แบบ
1.กลับมาด้วยการเลี้ยวโดยใช้ รัดเดอร์ เพียงอย่างเดียว
ซึ่งการเลี้ยวด้วยวิธีนี้จะนิยมที่สุดเพราะเป็นการเลี้ยวเฉพาะในแนวแกน Z
ส่วนในแนวแกน XY เราจะมี Sensor เช่น Fma copilot ช่วยในการรักษาระดับอยู่แล้ว
จริงๆแล้วในการเลี้ยวกลับด้วยรัดเดอร์นั้น ยังสามารถ คุมเรื่องความสูงได้ด้วยคือ รักษาระดับเครื่องบินให้บินสูงคงที่ไปด้วยโดย มีการสั่งงานไปที่ อิลิเวเตอร์
เลี้ยวด้วยรัดเดอร์เพียงอย่างเดียว
Rx aileron------->Co-Pilot--------->Aileron Servo(s)
Rx rudder------->OSD------>Rudder Servo
Rx elevator----->Co-Pilot--------->ElevatorServo
เลี้ยวด้วยรัดเดอร์ และคุมความสูงไปด้วย
Rx aileron------>Co-Pilot------->Aileron Servo(s)
Rx rudder------>OSD---->Rudder Servo
Rx elevator------>OSD---->Co-Pilot----->ElevatorServo
2.กลับมาด้วยการเลี้ยวโดย แอร่อน ร่วมกับการทำงานของ อิลิเวอเตอร์
Rx aileron------>OSD------>Co-Pilot------->Aileron Servo(s)
Rx rudder------>Rudder Servo
Rx elevator------>OSD---->Co-Pilot----->ElevatorServo
Q: OSD ค่ายไหนที่มี RTH บ้าง
A: OSD ที่มีฟังชั่นนี้มาเลย ซึ่งสามรรถ ใช้งานได้ทั้งสั่งเอง และ เมื่อหลุดการควบคุมก็จะมีอยู่ 4 ค่าย
DragonOSD ,Eagle Tree Pro, RVOSD,Boomerange Rc
ส่วน OSD ของค่ายอื่นๆ ต้องมีการดัดแปลง ร่วมกับ ArduPilot จึงจะสามารถทำงานได้
Remzibi OSD ก็เป็นตัวหนึงที่เมื่อนำมาร่วมกับ ArduPilot จะทำให้ใช้ RTH ได้
Q: แล้ว Waypoint กับ RTH มันต่างกันอย่างไร
A: Waypoint ก็คือพิกัด GPS ที่ผู้บินตั้งค่าไว้ ให้เครื่องบิน บินไปยังพิกัดนั้นๆ เช่น ในเที่ยวบินนี้เราตั้ง Waypoint
ไว้ สามจุดคือ โรงเรียน โรงพยาบาล และตลาด เครื่องบินของเราก็จะบินไปยัง โรงเรียน โรงพยาบาล และตลาด ตำลำดับที่ตั้งไว้
ถ้าเราตั้ง Waypoint เป็นจุดที่เราชึ้นบิน หรือ Home เมื่อเราสั่งให้มันทำงาน เครื่องบินก็จะบินมายัง Waypoint Home
ซึ่งก็คือการบินกลับมายังบ้าน หรือจุดขึ้นบิน นั้นก็คือ RTH นั้นเอง
A:OSD ( On Screen Display ) คือสัญญาลักษณ์หรือตัวหนังสือที่แสดงบนจอภาพ ในการบิน FPV ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะจะเป็นตัวช่วยบอกสถานะต่างๆของการบินไม่ว่าจะเป็น ความสูง ความเร็ว พิกัด ตำแหน่งจุดขึ้นบิน สถานะแบต ทำให้นักบิน FPV บินได้ปลอดภัยขึ้น
OSD บางรุ่น จะมีฟังชั่นที่มีระบบบินอัตโนมัต ในกรณี ฉุกเฉินมาด้วย ( RTH )
Q: RTH มันคืออะไรเห็นพูดถึงกันบ่อยๆ
A: RTH (Return To Home) หรืออีกชื่อ RTL (Return To Lunch)
แปลตามตัวก็คือ การกลับบ้าน ในที่นี้สำหรับนักบิน FPV เป็นฟังชั่นหนึ่งที่มีไว้ช่วยให้เครื่องบินกลับมายังบ้าน หรือจุดที่เราขึ้นบิน
จริงๆแล้วชื่อเต็มๆน่าจะเป็น ARTH (Autopilot Return To Home) เพราะมันเป็นการบินแบบ ออโต้
หรือเครื่องบินบินเองโดยที่เราไม่ได้ควบคุม
Q: แล้วเจ้า RTH มันทำงานอย่างไร
A: หลักการทำงานก็คือ ทุกครั้งก่อนขึ้นบิน เครื่องบินจะต้องรอให้ OSD ระบุพิกัด Home ให้ได้ก่อน
ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ เช่น ถ้าท้องฟ้าโปร่ง จะใช้เวลาไม่เกิน 1 นาทีในการล๊อคพิกัด
เมื่อเราบินไปแล้ว ทุกครั้งที่เรียกใช้งาน RTH เครื่องบินของเราก็จะบินกลับมายังตำแหน่ง Home ตามที่ล๊อคไว้ก่อนขึ้นบิน
Q: แล้วเราจะใช้ RTH ตอนไหน
A: การใช้ RTH มีอยู่ 2 กรณีคือ
1.ผู้บินสั่งใช้งาน RTH เอง เพื่อบินกลับบ้าน ซึ่งในขณะที่เครื่องบินบินโหมด RTH นี้ ผู้บินยังสามารถบังคับเองไปด้วยได้เช่น DragonOSD แต่ถ้าเป็น Eagle Tree Pro, RVOSD จะเป็นการปิดวิทยุเพื่อสั่งงาน หรือ สั่งผ่านสวิทซึ่ง เมื่อสั่งงานแล้ว จะไม่สามารถควบคุมเครื่องได้
2. กรณีที่บินจนหลุดการควบคุม เครื่องบินจะเข้าโหมด RTH เองอัตโนมัติ เพื่อนำเครื่องบินกลับมายังบ้าน หรือกลับมาในระยะที่ ผู้บินสามารถควบคุมเครื่องได้อีกครั้ง
กรณีนี้ เมื่อเครื่องบินหลุดสัญญาณ การทำงานของรีซีพในช่องต่างๆ ต้องตั้งให้อยู่ในโหมด f/s (Fail save)ทั้งหมด
โดยให้ตั้งให้อยู่ที่ center หรือศูนย์กลางทุกช่อง ยกเว้นช่อง 3 ให้เร่งเครื่องไว้เล็กน้อยพอพยุงเครื่องกลับ ดังนั้น รีซีพจึงต้องเป็น PCM
Q: มันเลี้ยวกลับมาได้อย่างไร
A: การเลี้ยวกลับ มี 2 แบบ
1.กลับมาด้วยการเลี้ยวโดยใช้ รัดเดอร์ เพียงอย่างเดียว
ซึ่งการเลี้ยวด้วยวิธีนี้จะนิยมที่สุดเพราะเป็นการเลี้ยวเฉพาะในแนวแกน Z
ส่วนในแนวแกน XY เราจะมี Sensor เช่น Fma copilot ช่วยในการรักษาระดับอยู่แล้ว
จริงๆแล้วในการเลี้ยวกลับด้วยรัดเดอร์นั้น ยังสามารถ คุมเรื่องความสูงได้ด้วยคือ รักษาระดับเครื่องบินให้บินสูงคงที่ไปด้วยโดย มีการสั่งงานไปที่ อิลิเวเตอร์
เลี้ยวด้วยรัดเดอร์เพียงอย่างเดียว
Rx aileron------->Co-Pilot--------->Aileron Servo(s)
Rx rudder------->OSD------>Rudder Servo
Rx elevator----->Co-Pilot--------->ElevatorServo
เลี้ยวด้วยรัดเดอร์ และคุมความสูงไปด้วย
Rx aileron------>Co-Pilot------->Aileron Servo(s)
Rx rudder------>OSD---->Rudder Servo
Rx elevator------>OSD---->Co-Pilot----->ElevatorServo
2.กลับมาด้วยการเลี้ยวโดย แอร่อน ร่วมกับการทำงานของ อิลิเวอเตอร์
Rx aileron------>OSD------>Co-Pilot------->Aileron Servo(s)
Rx rudder------>Rudder Servo
Rx elevator------>OSD---->Co-Pilot----->ElevatorServo
Q: OSD ค่ายไหนที่มี RTH บ้าง
A: OSD ที่มีฟังชั่นนี้มาเลย ซึ่งสามรรถ ใช้งานได้ทั้งสั่งเอง และ เมื่อหลุดการควบคุมก็จะมีอยู่ 4 ค่าย
DragonOSD ,Eagle Tree Pro, RVOSD,Boomerange Rc
ส่วน OSD ของค่ายอื่นๆ ต้องมีการดัดแปลง ร่วมกับ ArduPilot จึงจะสามารถทำงานได้
Remzibi OSD ก็เป็นตัวหนึงที่เมื่อนำมาร่วมกับ ArduPilot จะทำให้ใช้ RTH ได้
Q: แล้ว Waypoint กับ RTH มันต่างกันอย่างไร
A: Waypoint ก็คือพิกัด GPS ที่ผู้บินตั้งค่าไว้ ให้เครื่องบิน บินไปยังพิกัดนั้นๆ เช่น ในเที่ยวบินนี้เราตั้ง Waypoint
ไว้ สามจุดคือ โรงเรียน โรงพยาบาล และตลาด เครื่องบินของเราก็จะบินไปยัง โรงเรียน โรงพยาบาล และตลาด ตำลำดับที่ตั้งไว้
ถ้าเราตั้ง Waypoint เป็นจุดที่เราชึ้นบิน หรือ Home เมื่อเราสั่งให้มันทำงาน เครื่องบินก็จะบินมายัง Waypoint Home
ซึ่งก็คือการบินกลับมายังบ้าน หรือจุดขึ้นบิน นั้นก็คือ RTH นั้นเอง
สายอากาศ
จากเวบนี้
http://www.rc-cam.com/ant_exp.htm
เกี่ยวกับเรื่อง สายอากาศ รีซีพ ผมก็ได้ทำตาม Link นี้ และคุณ Sokii ใน Rcgeoups ถึงไปได้ไกล 5 กิโล ครับ
แบบสรุปๆ นะครับ
สายอากาศโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 40นิ้ว เขาจึงใช้เป็นตัวอ้างอิง
แล้วเขาลอง ตัด - ต่อ สาย และวัด RSSI VDC, Relative dB ออกมาตามตาราง
จากตารางจะเห็นว่า
1.ถ้าตัดสายให้สั้นลง สัญญาณ ก็จะอ่อนลง
2.ถ้าเพิ่มความยาวสาย สัญญาณก็จะเพิ่มขึ้น และมากที่สุดที่ 62 นิ้ว ถ้ายาวไปมากกว่านี้ จนถึง
92 นิ้ว สัญญาณไม่ต่างไปจากความยาวเดิมคือ 40 นิ้ว
เขาทดสอบรีซีพ 72 , 40,35 Mhz ได้ผลคล้ายๆกัน
และการกระทำใดๆที่ทำให้สายสั้นไปจาก 40 นิ้วไม่ว่าจะเป็น
ม้วนเป็นขด
หรือใช้สายอากาศแบบในภาพ
ก็เท่ากับการทำให้สายอากาศสั้นลง ผลก็คือ สัญญาณอ่อนลง
ดังที่ผมเคยลงไว้ที่หน้าแรก
ต่อสายอากาศให้ยาว และตั้งมันขึ้น ให้มันได้ยืดเต็มที่
สัญญาณก็จะแรงเต็มที่ ณ. ที่5 กิโล กับ 146ip ก็ยังสามารถควบคุมได้ดีครับ
ขอบคุณครับ
จากเวบนี้
http://www.rc-cam.com/ant_exp.htm
เกี่ยวกับเรื่อง สายอากาศ รีซีพ ผมก็ได้ทำตาม Link นี้ และคุณ Sokii ใน Rcgeoups ถึงไปได้ไกล 5 กิโล ครับ
แบบสรุปๆ นะครับ
สายอากาศโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 40นิ้ว เขาจึงใช้เป็นตัวอ้างอิง
แล้วเขาลอง ตัด - ต่อ สาย และวัด RSSI VDC, Relative dB ออกมาตามตาราง
จากตารางจะเห็นว่า
1.ถ้าตัดสายให้สั้นลง สัญญาณ ก็จะอ่อนลง
2.ถ้าเพิ่มความยาวสาย สัญญาณก็จะเพิ่มขึ้น และมากที่สุดที่ 62 นิ้ว ถ้ายาวไปมากกว่านี้ จนถึง
92 นิ้ว สัญญาณไม่ต่างไปจากความยาวเดิมคือ 40 นิ้ว
เขาทดสอบรีซีพ 72 , 40,35 Mhz ได้ผลคล้ายๆกัน
และการกระทำใดๆที่ทำให้สายสั้นไปจาก 40 นิ้วไม่ว่าจะเป็น
ม้วนเป็นขด
หรือใช้สายอากาศแบบในภาพ
ก็เท่ากับการทำให้สายอากาศสั้นลง ผลก็คือ สัญญาณอ่อนลง
ดังที่ผมเคยลงไว้ที่หน้าแรก
ต่อสายอากาศให้ยาว และตั้งมันขึ้น ให้มันได้ยืดเต็มที่
สัญญาณก็จะแรงเต็มที่ ณ. ที่5 กิโล กับ 146ip ก็ยังสามารถควบคุมได้ดีครับ
ขอบคุณครับ
No comments:
Post a Comment